กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตั้งแต่วันนี้ถึงพรุ่งนี้เช้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. 65 ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

ส่วนชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แสดงแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. วันพรุ่งนี้

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

อุตุฯเตือน “ภาคใต้”8-11ธ.ค.ร่องมรสุมพาดผ่านเกิดฝนตกหนักระวังน้ำท่วมฉับพลัน

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไป 24 ชั่วโมงว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้และประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 – 11 ธ.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันน้อย เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงและยังคงมีฝนเกิดขึ้นบางพื้นที่06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

เมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

เมฆบางส่วน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากบริเวณชายฝั่งทะเล
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

เมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม…. สามาที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1761435/

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกาศแจ้งเตือน 11 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้น เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 8 – 11 ธ.ค. 65

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประกาศแจ้งเตือนในหลายจังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำไหลหลาก น้ำท่วมขัง และระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 8 – 11 ธ.ค. 65 โดยประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด

พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด


กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติว่า ในช่วงวันที่ 8 – 9 ธ.ค.65 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนผ่านสหพันธรัฐมาเลเซียทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 8 – 11 ธ.ค.65 ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

  • ชุมพร (อ.ละแม) 
  • สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน ดอนสัก) 
  • นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา พรหมคีรี ปากพนัง นบพิตำ พระพรหม) 
  • พัทลุง (อ.เขาชัยสน ควนขนุน บางแก้ว ปากพะยูน ป่าบอน กงหรา) 
  • สงขลา (อ.กระแสสินธุ์ ระโนด เทพา รัตภูมิ ควนเนียง หาดใหญ่ สทิงพระ จะนะ) 
  • ปัตตานี (อ.ไม้แก่น หนองจิก โคกโพธิ์ สายบุรี กะพ้อ ยะหริ่ง ทุ่งยางแดง มายอ) 
  • ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา) 
  • นราธิวาส (อ.เมืองฯ ตากใบ เจาะไอร้อง บาเจาะ ยี่งอ แว้ง สุไหงโก-ลก สุคิริน รือเสาะ) 
  • ภูเก็ต (อ.เมืองฯ ถลาง) 
  • ตรัง (อ.กันตัง) 
  • สตูล (อ.เมืองฯ) 

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง

  • บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) รวมทั้งอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน

กอปภ.ก. จึงได้ประสานจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยโดยติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักหรือฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 

รวมถึงประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) และนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนทันทีตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ขอให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นและปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด 


ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ

กรมอุตุฯฉบับที่ 8 เตือนช่วง 2 – 4 ธ.ค. 65 ไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาฯ ส่วนภาคใต้ ช่วง 2-4 ธ.ค.นี้ ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

 

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 05.00 น.เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้

ในช่วงวันที่ 2-3 ธ.ค. 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง คาดว่าในช่วงวันที่ 4–5 ธ.ค. 2565 จะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-4 ธ.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง     

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
 

วันที่ 2 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

ช่วงวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 3–4 ธ.ค. 2565 โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

ทีมา:ฐานเศรษฐกิจ

 

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 6 ย้ำไทยตอนบนอากาศแปรปรวน 15 จว.ใต้ฝนถล่มหนัก

 

อธิบดีกรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับที่ 6 เรื่องประเทศไทยตอนบนอากาศแปรแปรวน ส่วนภาคใต้ฝนถล่มหนัก ย้ำช่วง 2-4 ธ.ค. พระพิรุณถล่มหนักใน 15 จังหวัด

01 ธ.ค.2565 – นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 6 (338/2565) ระบุว่า
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศ ลาวแล้ว และจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ในลำดับต่อไป ทำให้ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 2565 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-3 ธ.ค. 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง คาดว่าในช่วงวันที่ 4–5 ธ.ค. 2565 จะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 2 ธันวาคม 2565
ภาคใต้: จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ช่วงวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565
ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 3–4 ธ.ค. 2565 โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

ที่มา: ThaiPost

ประกาศ “กรมอุตุนิยมวิทยา” ฉบับที่ 4 ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน – ภาคใต้ฝนตกหนักมาก

ในช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-3 ธันวาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง คาดว่าในช่วงวันที่ 4-5 ธันวาคม 2565 จะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 2 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ช่วงวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565 โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

ประกาศ "กรมอุตุนิยมวิทยา" ฉบับที่ 4 ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน - ภาคใต้ฝนตกหนักมาก
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1040577

อุตุฯเตือนอากาศแปรปรวน ฉบับ 2 ‘ภาคใต้’ เตรียมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก 2-5 ธ.ค.

 

อุตุฯเตือนอากาศแปรปรวน ฉบับ 2 ‘ภาคใต้’ เตรียมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก 2-5 ธ.ค.

เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 2 (334/2565) ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2565 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-3 ธ.ค.2565 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง คาดว่า ในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค.2565 จะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 2 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ช่วงวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค.2565 โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 17.00 น.

 

ที่มา:มติชน

กรมอุตุฯเตือน!! ฝนถล่มภาคใต้ ระวังจมฉับพลัน น้ำป่าหลาก-คลื่นลมแรง

 

กรมอุตุฯเตือนภาคเหนือ-อีสานตอนบน มีฝนฟ้าคะนองอากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนกระหน่ำ ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ขณะที่รัฐบาล แนะชาวนาหาวิธีป้องกันดูแลข้าวช่วงที่ยังมีฝน หวั่นกระทบเก็บเกี่ยว-คุณภาพข้าวขอให้ติดตามประกาศกรมอุตุฯ อย่างใกล้ชิด

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวันว่าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้

สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงกว่า 1 เมตรภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงกว่า 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.ระนอง พังงา ตรัง และสตูล ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงกว่า 1 เมตร

กทม.และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40ของพื้นที่

ด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุถึงสภาพอากาศว่าในระยะนี้หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยจะยังมีฝนตกเป็นวงกว้าง ทั้งภาคกลางรวมทั้งกทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐบาลขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขณะนี้อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวและตากผลผลิตตามฤดูการเก็บเกี่ยว ให้ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต อาทิ ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด เลือกวันเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังวันที่คาดว่าจะมีฝน มีพื้นที่กองข้าวและวัสดุคลุมกองข้าวเพื่อป้องกันฝนที่เหมาะสม

ทั้งนี้ หากไม่มีมาตรการดูแลป้องกันที่เหมาะสมจะทำให้เกิดความเสียหายผลกระทบทั้งในเชิงปริมาณ น้ำหนัก และคุณภาพ เกิดความชื้น เนื้อข้าวมีสีเหลือง มีกลิ่น ขึ้นราหรือเกิดท้องไข่ และเมื่อนำมาสีก็จะมีผลทำให้เมล็ดเกิดการแตกหัก และจะได้ข้าวไม่เต็มเมล็ดเท่าที่ควร และขอให้ดูแลความปลอดภัยในขั้นตอนการตากผลผลิต เนื่องจากหลายพื้นที่ประชาชนนิยมนำข้าวมาตากบนถนนในหมู่บ้านและชุมชน กีดขวางการจราจรและเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า ขอให้เกษตรกรติดตามการแจ้งเตือนสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งขณะนี้ได้คาดการณ์ว่าช่วงวันที่ 26-29พฤศจิกายน 2565 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก ยังคงมีฝน ส่วนวันที่ 30พฤศจิกายน-1ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ขณะที่ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ขณะเดียวกัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ยังคงมีน้ำท่วมใน 3อำเภอของ จ.อุบลราชธานี ได้แก่ อ.เมืองอ.วารินชำราบและอ.สว่างวีระวงศ์ รวม 4ตำบล 11หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 247ครัวเรือน ระดับน้ำลดลงแล้ว เร่งเข้าระบายน้ำและฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็

ที่มา : แนวหน้า