กรมอุตุฯ เตือน ฉบับที่2 เตือนภาคใต้ 6 จ. นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 3 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6-8 มกราคม 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุ ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงใกล้เกาะบอร์เนียวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายบริเวณแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในวันที่ 6 มกราคม 2565 : จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม 2565 : จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำ ให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 17.00 น.

สภาพอากาศวันนี้ ตอนบนยังเย็น “ใต้” มีฝน-เตรียมรับมือตกหนัก 6-8 ม.ค.นี้

ไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว-มีหมอกในตอนเช้า “ใต้” มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 6-8 ม.ค.นี้ “ใต้” เตรียมรับมือฝนหนัก เตือนประชาชนระวังน้ำท่วม-น้ำป่า “อ่าวไทย” คลื่นลมแรง-คลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากว่า 4 เมตร ขอชาวเรือระมัดระวัง

เมื่อวันที่ 4 ม.ค.66 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและหนาวเย็นไว้ด้วย รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2566 บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

ที่มา :ไทยรัฐ

เช็กด่วน! ประกาศเตือนฉบับ 1 “คลื่นลมแรง” บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง

 

รมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ฉบับที่ 1 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-26 ธันวาคม 2565

ในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง

ในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 

ส่วนอ่าวไทยตอนบนและห่างฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565

  • พยากรณ์อากาศวันนี้และ 7 วันข้างหน้า ทั่วไทยอากาศเย็น กทม.วันนี้ 20 องศาฯ
  • เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ 7 จังหวัดยังอ่วมโดนกระทบหนัก
  • ภาคใต้ฝนตกหนัก-น้ำท่วม รฟท.แจ้งปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถสายใต้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ลมหนาวทักอีกระลอก!กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศล่วงหน้าวันที่ 24 -27 ธ.ค.ไทยตอนบนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา ส่วนภาคเหนือมีฝนเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ คลื่นลมกำลังแรง คลื่นสูง 3 เมตร

 

 รายงานสภาพอากาศวันนี้ – 27 ธันวาคม 2565 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า)ในช่วงวันที่ 24 – 27 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิและอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนบนของภาคเหนือ 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและห่างฝั่งบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนสภาพอากาศวันนี้ – 23 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง 

ข้อควรระวัง

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง และระวังภัยที่เกิดจากลมแรงและอากาศแห้ง 
  • ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย 
  • ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ตั้งแต่ในช่วงวันที่ 24 – 27 ธ.ค. 65

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 21 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 21 – 24 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นในกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 25 – 27 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคเหนือ
วันที่ 21 – 24 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยทางด้านตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 23 -24 ธ.ค. 65 อุณหภูมิต่ำสุด 11 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5 – 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 25 – 27 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 – 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 – 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทะเลคลื่นสูงกว่า 3 เมตร กทม. เริ่มหนาวน้อยลง

วันนี้ (21 ธ.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้ง กรุงเทพและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ยังมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ภาคเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 สูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก : อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณ จ.กระบี่ ตรัง และ สตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ที่มา :กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯ เตือน !!! 9 จังหวัดภาคใต้ ระวังฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้ ฝนตกหนัก ทั่วไทยอากาศเย็นลงอุณหภูมิลด ส่วน ปภ.สรุปน้ำท่วม-วาตภัย 8 จังหวัด กระทบ 15,696 ครัวเรือน พัทลุงอ่วม 9 อำเภอ จมน้ำ ปัตตานีฝนถล่ม สั่งปิดรร.เร่งอพยพชาวบ้าน ขณะที่นราธิวาสอพยพชาวบ้านหนีน้ำป่า ตรังท่วมหนัก 4 อำเภอ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงหนีน้ำ

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 น.ส.ชมภารีชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 10 เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19-20 ธันวาคม 2565) ว่าช่วงวันที่ 19-20 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส พื้นราบอุณหภูมิต่ำสุด 9-19 องศาฯ ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-12 องศาฯ

       สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออกรวมทั้งกทม.และปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาฯ อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาฯ ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้งและลมแรง

ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้ วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและอันดามันมีกำลังแรง โดยห่างฝั่งมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2565

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.)รายงานสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ระหว่างวันที่17-20ธันวาคม 2565 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และลมกระโชกแรง

ทั้งนี้ แบ่งเป็นสถานการณ์อุทกภัย เกิดขึ้นในพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส ยะลา และพัทลุง รวม 23 อำเภอ 68 ตำบล 285 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 15,619 ครัวเรือนส่วนสถานการณ์วาตภัย เกิดขึ้นในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ จันทบุรี ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวม 11 อำเภอ 16 ตำบล 20 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 77 ครัวเรือน

ที่ จ.พัทลุง ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์ฝนตกหนักนับตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ริมเขาบรรทัด ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมใน 9 อำเภอ ได้แก่ อ.ป่าบอน อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.บางแก้ว อ.เขาชัยสน อ.เมือง อ.ศรีนครินทร์ อ.ปากพะยูน และอ.ควนขนุนว่านายฉัตรชัย อุสาหะ รอง ผวจ.พัทลุง รักษาราชการแทน ผวจ.พัทลุง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยอย่างเร่วด่วน พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในเส้นทางสัญจรบนถนนสายเอเชีย ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักลงสู่ภาคใต้ตอนล่าง

ส่วนช่วงกลางดึกที่ผ่านมา น้ำป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ไหลมาสมทบกับน้ำฝนที่ตกสะสมใน ต.ตะโหมด อ.กงหรา อ.ป่าบอน ท่วมถนนหลายเส้นทาง ซึ่งบางจุดรถไม่สามารถสัญจรไปมาได้ นอกจากนี้น้ำยังเข้าท่วมถนนเพชรเกษม ทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่อง พัทลุง-หาดใหญ่ โดยจุดที่น้ำท่วมบนถนนพื้นที่บ้านโคกยา คนขับจักรยานยนต์ วัย 30 ปี ได้ถูกกระแสน้ำเชี่ยว พัดเอาจักรยานยนต์จมหายไป แต่คนขับได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย ขณะที่อีกราย ขับจักรยานยนต์ฝ่ากระแสน้ำ ก่อนจะถูกน้ำพัดจนจม โชคดีที่คนขับลอยไปติดต้นไม้จึงปีนขึ้นไปร้องขอความช่วยเหลือ และมีกู้ภัย เข้ามาช่วยเหลือไว้ได้อย่างปลอดภัย

ขณะที่ จ.ปัตตานี ภายหลังฝนตกอย่างหนักติดต่อกัน 2วัน ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองปัตตานี พื้นที่เศรษฐกิจเสียหายอย่างหนัก มีน้ำท่วมขังถนนในเขตเทศบาล ระดับน้ำสูง 30-40 เซนติเมตร ประชาชนต้องนำกระสอบทรายมากั้นบริเวณหน้าบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม ส่วนเจ้าหน้าที่ได้นำแผงกั้นมาปิดการจราจรชั่วคราว สำหรับโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีได้ปิดการเรียนการสอนชั่วคราว หลังจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นายนิอันวา สุไลมาน นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งเข้าช่วยเหลือดูแลประชาชน พร้อมกับเสนอให้เป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม และได้นำเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกสู่แม่น้ำ ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานี ยังคงมีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ทางจังหวัดได้แจ้งเตือนทั้ง 12 อำเภอให้ระวังน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะใน อ.หนองจิก และ อ.ยะหริ่ง ที่มีบ้านเรือนริมทะเลถูกคลื่นลมแรงซัดบ้านเรือนและหลังคาได้รับความเสียหายหลายร้อยหลังขณะนี้ทางอำเภอได้เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ พร้อมอพยพประชาชนไปอาศัยที่โรงเรียนซึ่งจัดสถานที่ให้เป็นจุดอพยพชั่วคราว

ด้าน จ.นราธิวาส ด.ต.รูสลามอาแว นายก อบต.มูโนะ เปิดเผยว่า หลังจากพนังกั้นน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำโก-ลกแตก ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ 5 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับผลกระทบ 2,850 ครัวเรือน รวม 10,460 คน สำหรับพื้นที่หมู่ 1ต.มูโนะที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำจุดรับน้ำจากแม่น้ำโก-ลกขณะนี้ประชาชนได้อพยพออกมาเกือบหมดแล้ว ส่วนใหญ่จะไปพักกับญาติ มีเพียง 4 ครัวเรือน รวม 18 คนเท่านั้นที่เข้าพักที่ศูนย์อพยพผู้ประสบภัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล หมู่ 5 ขณะที่ถนนเส้นทางสายหลักสุไหงโก-ลก-มูโนะ รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรได้

ที่ จ.ตรัง สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ส่งผลกระทบแล้ว 4 อำเภอ ได้แก่ อ.นาโยง อ.ปะเหลียน อ.ห้วยยอด และ อ.ย่านตาขาว มีผู้ได้รับความเดือดร้อนประมาณกว่า 2,000 ครัวเรือน หนักสุดในพื้นที่ 15 หมู่บ้านของ ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บข้าวของได้ทันเนื่องจากน้ำป่าหลากมาอย่างรวดเร็วจนต้องหนีเอาชีวิตรอด อย่างไรก็ดี หากฝนไม่ตกเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ขณะเดียวกัน ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา ทางกู้ภัยและชุดประดาน้ำ ได้เข้าช่วยเหลืออดีตครู วัย 50 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง จากบ้านพักในพื้นที่หมู่ 2 ต.แหลมสอม อ.ปะเหลียน โดยต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง ฝ่ามวลน้ำที่ไหลเชี่ยว ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ประกอบกับบ้านพักดังกล่าวอยู่ในสวนยางพาราซึ่งเจ้าหน้าที่มีการวางแผนร่วมกับฝ่ายปกครอง เพื่อให้ทราบเส้นทางเข้าออกที่ปลอดภัยที่สุด ก่อนจะช่วยเหลือผู้ป่วยรายนี้ออกมาได้อย่างทุลักทุเลด้วยระยะทางไปกลับประมาณ 2 กิโลเมตร ท่ามกลางความโล่งใจของญาติพี่น้อง

ส่วนที่ จ.สงขลา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงค่ำวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้เกิดน้ำท่วมบริเวณถนนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ อ.หาดใหญ่ แล้วปรากฏว่ามีถังแก๊สนับร้อยถัง ทั้งขนาดที่ใช้ในครัวเรือนและถังยาวที่ใช้ในร้านอาหารลอยมากับกระแสน้ำที่ท่วมบนถนนท่ามกลางรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา โดยถังแก๊สเหล่านี้ลอยมาจากโรงงานอัดแก๊สที่อยู่บริเวณดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านที่พบเห็นต่างพากันตื่นตกใจ เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายขึ้นได้ ซึ่งภายหลังได้มีการประสานให้ทางโรงอัดแก๊สแห่งนี้ จัดพนักงานมาช่วยกันตามเก็บถังแก๊สออกไปจากถนนท่ามกลางสภาพน้ำที่ยังท่วมขัง

 
ที่มา : แนวหน้า

กรมอุตุเตือน 10 จังหวัดภาคใต้ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง ได้แก่  สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดน้ำท่วมและวาตภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา นราธิวาส พัทลุง อำนาจเจริญ จันทบุรี และปัตตานี

 

วันนี้ (18 ธ.ค. 65) เวลา 16.00 เกิดน้ำท่วมและวาตภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา นราธิวาส พัทลุง อำนาจเจริญ จันทบุรี และปัตตานี รวม 33 อำเภอ 84 ตำบล 305 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,696 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหาย และช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยอละภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในระหว่างวันที่ 17-20 ธ.ค.65 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และลมกระโชกแรง แยกเป็น

สถานการณ์อุทกภัย เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส ยะลา และพัทลุง รวม 23 อำเภอ 68 ตำบล 285 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 15,619 ครัวเรือน ดังนี้

1. นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอปากพนัง รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 90
ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. ยะลา น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบันนังสตา รวม 5 ตำบล 8 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
3. สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงลา อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม และอำเภอจะนะ รวม 9 ตำบล 28 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
4. นราธิวาส น้ำท่วมในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสุคิริน อำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ
อำเภอจะแนะ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอตากใบ รวม 46 ตำบล 231 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,529 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
5. พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะโหมด อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอกงหรา รวม 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

สถานการณ์วาตภัย เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ จันทบุรี ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวม 11 อำเภอ 16 ตำบล 20 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 77 ครัวเรือน ดังนี้
1. อำนาจเจริญ เกิดวาตภัยพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชานุมาน อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และอำเภอปทุม
ราชวงศา รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน
2. จันทบุรี เกิดวาตภัยพื้นที่อำเภอแหลมสิงห์ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน
3. ปัตตานี เกิดวาตภัยพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปะนาเระ อำเภอยะหริ่ง และอำเภอยะรัง รวม 6 ตำบล 9
หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29 ครัวเรือน
4. นครศรีธรรมราช เกิดวาตภัยพื้นที่อำเภอหัวไทร รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน
5. สงขลา เกิดวาตภัยพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอจะนะ รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24 ครัวเรือน

 

ที่มา : https://raining.disaster.go.th/

อุตุฯเตือน ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ประเทศไทยตอนบน มีอุณภูมิลดลงกับมีลมแรง

 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณภูมิลดลงกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย 
สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมช่องแคบมะละกาและเกาะสุมาตรา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันน้อย เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

00:00 น. วันนี้ ถึง 00:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า
ตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่  
บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ที่มา: Posttoday

สภาพอากาศวันนี้(9 ธ.ค.65) “ฝนถล่มภาคใต้” 9-11 ธ.ค.นี้ เตือน 11 จว.ระวังน้ำท่วม

“ภาคใต้” มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และตกหนักมากบางแห่ง ขอประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-สะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก-น้ำล้นตลิ่ง ส่วนตอนบนอากาศเย็น-มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 65 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย คาดว่าจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมผ่านประเทศมาเลเซีย เข้าปกคลุมช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามันตอนล่าง ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค.2565 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลาง พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม  ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้ไว้ด้วย

ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา : ไทยรัฐ

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตั้งแต่วันนี้ถึงพรุ่งนี้เช้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. 65 ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

ส่วนชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แสดงแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. วันพรุ่งนี้

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา