พยากรณ์อากาศวันนี้ “ร่องมรสุมพาดผ่าน” กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ ทีมกรุ๊ปเตือนส่งผล “ฝนตกหนักมาก” เทียบเคียงพายุเตี้ยนหมู่.
29 กันยายน 2566 พยากรณ์อากาศวันนี้ เตือนรับมือ“ฝนตกหนักถึงหนักมาก” กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ”
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม. นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น ช่วง 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 28 ก.ย.- 7 ต.ค.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุว่า..
ช่วงวันที่ 28-29 ก.ย.66 ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำยังปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่าน ทำให้ยังมีฝนตกต่อเนื่องและ ตกหนักบางแห่ง ใกล้บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำและร่องมรสุม
สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุมที่ทิศทางลมพัดเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ คลื่นลมแรงขึ้น โดยเฉพาะทางด้านทะเลอันดามัน
ช่วง 30 ก.ย. – 7 ต.ค.66 ร่องมรสุมจะสวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้ ฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม ฝนยังมีต่อเนื่อง ระวังฝนตกสะสม
ทั้งนี้ ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนของไทยเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
จับตาพายุลูกใหม่ถล่มไทย
นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ “ทีมกรุ๊ป” โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า คาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก มีแนวโน้มจะเข้าไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก 9 ถึง 11 ต.ค. (หากไม่สลายตัวก็จะใกล้เคียงกับพายุเตี้ยนหมู่)
จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีความจำเป็นต้องระบายน้ำพร่องน้ำออกจากเขื่อนที่มีน้ำมากในแนวเส้นทางที่จะมีฝนตกหนัก เช่นลำปาว น้ำอูน หนองหาร ห้วยหลวง หรือไม่ หากไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่า..
9 ถึง 11 ต.ค.66 จะทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบนและอิสานตอนกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร
จากการคาดการณ์เบื้องต้น
-
- 6 ต.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง จะเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก ทำให้ฝนตกหนัก ในพื้นที่ตอนเหนือสุดของฟิลิปปินส์ และ พื้นที่ไต้หวัน
-
- 8 ต.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำมีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังกำลังแรงขึ้น และจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ตอนใต้ของเกาะไหหลำ
-
- 9 ต.ค. 66 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ตั้งแต่กรุงฮานอยลงไปถึงเมืองดานัง และในพื้นที่ลาวตอนใต้ ตั้งแต่ ขึ้นไปถึงสุวรรณเขต ลงไปถึงจำปาสัก โดยเริ่มมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ในจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร
-
- 10 ต.ค.66 เคลื่อนที่เข้าสู่ไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบนและอิสานตอนกลางทั้งหมด รวมถึงจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร
-
- 11 ต.ค.66 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร แล้วเคลื่อนที่ออกจากประเทศไทยที่บริเวณใกล้อำเภอแม่สอด
นอกจากนั้น มีโอกาสที่จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกลุ่มใหม่ ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ หากไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่า 9 ต.ค. เคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักที่ประเทศฟิลิปปินส์ จึงต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดต่อไป ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ สำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
-
- อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
-
- ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
-
- อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
-
- ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
-
- อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
-
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
-
- อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
-
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
-
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
-
- ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
-
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
-
- ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
-
- ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
-
- บริเวณจังหวัดระนอง และพังงา
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
-
- ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
-
- ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
-
- ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
-
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
-
- มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
-
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
-
- อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
-
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 29 กันยายน 2566