อุตุฯ เตือน รับมือ “ฝนตกหนักมาก”จับตา พายุ ลูกใหม่ก่อตัวระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

พยากรณ์อากาศวันนี้ “ร่องมรสุมพาดผ่าน” กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ ทีมกรุ๊ปเตือนส่งผล “ฝนตกหนักมาก” เทียบเคียงพายุเตี้ยนหมู่.

29 กันยายน 2566 พยากรณ์อากาศวันนี้ เตือนรับมือ“ฝนตกหนักถึงหนักมาก” กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย 

“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ”

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย 
พยากรณ์อากาศวันนี้ รับมือ"ฝนตกหนักมาก" กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ก่อตัว
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม. นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น ช่วง 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 28 ก.ย.- 7 ต.ค.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุว่า..

ช่วงวันที่ 28-29 ก.ย.66 ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล   เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำยังปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่าน  ทำให้ยังมีฝนตกต่อเนื่องและ ตกหนักบางแห่ง ใกล้บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำและร่องมรสุม 

สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุมที่ทิศทางลมพัดเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำ   ต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้  คลื่นลมแรงขึ้น โดยเฉพาะทางด้านทะเลอันดามัน   

ช่วง 30 ก.ย. – 7 ต.ค.66  ร่องมรสุมจะสวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้  ฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม ฝนยังมีต่อเนื่อง ระวังฝนตกสะสม  

ทั้งนี้ ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนของไทยเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
พยากรณ์อากาศวันนี้ รับมือ"ฝนตกหนักมาก" กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ก่อตัว

  จับตาพายุลูกใหม่ถล่มไทย  
นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ “ทีมกรุ๊ป” โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า คาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก มีแนวโน้มจะเข้าไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก 9 ถึง 11 ต.ค. (หากไม่สลายตัวก็จะใกล้เคียงกับพายุเตี้ยนหมู่

จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีความจำเป็นต้องระบายน้ำพร่องน้ำออกจากเขื่อนที่มีน้ำมากในแนวเส้นทางที่จะมีฝนตกหนัก เช่นลำปาว น้ำอูน หนองหาร ห้วยหลวง หรือไม่ หากไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่า..

9 ถึง 11 ต.ค.66 จะทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบนและอิสานตอนกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร

  จากการคาดการณ์เบื้องต้น  

    • 6 ต.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง จะเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก ทำให้ฝนตกหนัก ในพื้นที่ตอนเหนือสุดของฟิลิปปินส์ และ พื้นที่ไต้หวัน

    • 8 ต.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำมีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังกำลังแรงขึ้น และจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ตอนใต้ของเกาะไหหลำ

    • 9 ต.ค. 66 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ตั้งแต่กรุงฮานอยลงไปถึงเมืองดานัง และในพื้นที่ลาวตอนใต้ ตั้งแต่ ขึ้นไปถึงสุวรรณเขต ลงไปถึงจำปาสัก โดยเริ่มมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ในจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร

    • 10 ต.ค.66 เคลื่อนที่เข้าสู่ไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบนและอิสานตอนกลางทั้งหมด รวมถึงจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์  อุตรดิตถ์  สุโขทัย  พิจิตร  นครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร

    • 11 ต.ค.66 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร แล้วเคลื่อนที่ออกจากประเทศไทยที่บริเวณใกล้อำเภอแม่สอด

นอกจากนั้น มีโอกาสที่จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกลุ่มใหม่ ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ หากไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่า 9 ต.ค. เคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักที่ประเทศฟิลิปปินส์ จึงต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดต่อไป ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
พยากรณ์อากาศวันนี้ รับมือ"ฝนตกหนักมาก" กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ก่อตัวกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ สำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

    • อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส 

    • อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส 

    • ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ 

    • อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส 

    • อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

    • ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

    • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 

    • อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส 

    • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

    • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 

    • อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

    • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 

    • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 

    • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

    • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 

    • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

    • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 

    • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

    • บริเวณจังหวัดระนอง และพังงา 

    • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

    • ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. 

    • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

    • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 

    • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

    • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

    • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 

    • อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส 

    • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

พยากรณ์อากาศวันนี้ รับมือ"ฝนตกหนักมาก" กรมอุตุฯจับตาพายุลูกใหม่ก่อตัว

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 29 กันยายน 2566


กรมอุตุ เตือนฉบับ 1 ฝนตกหนักทั่วไทย มีผล 26 -29 ก.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 1 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้เคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุม ระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย. 2566

ในช่วงวันที่ 26-29 กันยายน 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุม ในขณะที่ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่อง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 26-29 กันยายน 2566

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน ฝนตกหนัก 52 จังหวัด กทม. อ่วม 80% ของพื้นที่

https://www.sanook.com/news/9035486/?utm_source=tw-sanook&utm_medium=social&utm_campaign=share-link-tw

พยากรณ์อากาศวันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ฝนฟ้าคะนอง 52 จังหวัด กทม. ฝนตกหนักถึงหนักมาก

วันนี้ (22 ก.ย.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนล่าง รวมถึงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พยากรณ์อากาศวันนี้ (4 ส.ค. 66 )กรมอุตุฯ ชี้”ฝนตกหนักถึงหนักมาก” กระทบ 43 จว. กทม.ฝน 60%

พยากรณ์อากาศวันนี้ กรมอุตุฯ ชี้”ฝนตกหนักถึงหนักมาก” กระทบ 43 จว. กทม.ฝน 60%

สภาพอากาศวันนี้ แจ้งเตือน 43 จังหวัด เฝ้าระวัง “ฝนตกหนักถึงหนักมาก” กทม.และปริมณฑลมีฝน 60%ของพื้นที่ อิทธิพลจากมรสุมปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย

4 สิงหาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้ง “ฝนตกหนัก” และ “ฝนตกหนักถึงหนักมาก”บางพื้นที่ โดย พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย

ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ขนุน” (KHANUN) บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน คาดว่าจะเคลื่อนไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 5–7 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย

ขณะ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 3 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ดังนี้..

ในช่วงวันที่ 4 – 7 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

  ข้อควรระวัง  
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ (5 ส.ค.)
กรุงเทพและปริมณฑล

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคเหนือ

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และตาก 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตบนมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 04 สิงหาคม 2566

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 8 เตือนมรสุม ฝนตกหนักถึงหนักมาก ระวังน้ำท่วม

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 8 เตือน ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ทะเลมีคลื่นสูง

วันที่ 2 ส.ค.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 8 (213/2566) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566) ระบุว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

2 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธรอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก : จังหวัดจันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

3 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี และกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น. ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

ที่มา: ข่าวสด