สภาพอากาศวันนี้ อุตุฯ เตือน “พายุดีเปรสชัน” ถล่มหลายจังหวัด 11-15 พ.ค.นี้

สภาพอากาศวันนี้ อุตุฯ เตือน "พายุดีเปรสชัน" ถล่มหลายจังหวัด 11-15 พ.ค.นี้

อ่านข่าวให้ฟัง

00:00กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือน พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศบังคลาเทศและเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. แต่ส่งผลต่อประเทศไทยในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

อิทธิพล “ดีเปรสชัน” อ่าวเบงกอล ทำฝนตกหนักหลายพื้นที่

เมื่อเวลา 04.00 น.ของวันนี้ (11 พ.ค.2566) พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 10.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 88.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กม./ชม. เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือค่อนทางตะวันตกเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม.คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศและเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค.2566

ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค.2566 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 ม. บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 ม. และมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 14-15 พ.ค.2566

ทำให้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 ม. ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 ม. บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 ม. ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 16 พ.ค.2566

สภาพอากาศวันนี้! ทั่วไทยร้อน สูงสุด 41 องศา ฝนถล่ม 36 จว. กทม.โดน 10%

กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยร้อนถึงร้อนจัด สูงสุด 41 องศา และมีฝนตก 36 จังหวัด หนักสุดที่ภาคใต้ ส่วน กทม.โดน 10%

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย 

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 พ.ค. 2566

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีฝนตกในบริเวณดังกล่าวและมีการระบายอากาศดี ยกเว้นภาคเหนือในบางพื้นที่ มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันในเกณฑ์ค่อนข้างมาก

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง

อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนในตอนกลางวันทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ที่มา PPTV

มาแน่! เปิดเส้นทาง “พายุฤดูร้อน” จ่อถล่มไทย 29 เม.ย.- 1 พ.ค. เช็กเลยพื้นที่ไหนอ่วมบ้าง

 

วันที่ 28 เมษายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา  พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 66 ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันน้อย เนื่องจากยังคงมีฝนตกในบริเวณดังกล่าวและมีการระบายของอากาศดี เว้นแต่ภาคเหนือที่มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย00:00 น. วันนี้ ถึง 00:00 น. วันพรุ่งนี้

ที่มา: Sanook.com

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ5 เตือน พายุฤดูร้อนถล่มหนัก ระวังอันตราย ลูกเห็บตก

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7626940?mibextid=Zxz2cZ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 5 เตือน พายุฤดูร้อน พัดถล่มไทยตอนบน ขอให้ประชาชนระวังอันตราย ลมกระโชกแรง-ลูกเห็บตก อาจมีฟ้าผ่าบางพื้นที่ เลี่ยงอยู่ที่โล่งแจ้ง

วันที่ 24 เม.ย.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-26 เมษายน 2566) ระบุว่า ในช่วงวันที่ 24-26 เมษายน 2566 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน

โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าว

โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 24 เมษายน 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก : จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 25-26 เมษายน 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

อ่านข่าว : สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน พายุฝนถล่ม42จว. ลูกเห็บตก กทม.ก็โดน

 

“พายุฤดูร้อน”ล่มไทย กรมอุตุฯ ประกาศด่วน แจ้ง 28 จังหวัด เกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ กทม.-ปริมณฑลโดนด้วย

 

7 เมษยน 2566 เตือน“พายุฤดูร้อน”ถล่มวันนี้ นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ลงนามในประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 6 (96/2566) เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 7 – 9 เมษายน 2566 ระบุว่า..

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมบริเวณประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ในวันนี้ (7 เม.ย. 66)

หลังจากนั้นจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือตามลำดับ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

วันที่ 7 เมษายน 2566

  • ภาคเหนือ : จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง : จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก :จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

 

วันที่ 8 เมษายน 2566

  • ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์  ตาก กำแพงเพชร
  • พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
  • ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 9 เมษายน 2566

  • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตรพิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

กรมอุตุฯ ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

(หมายเหตุ : ประเทศไทยตอนบน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก)


ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ประกาศวันที่ 7 เมษายน 2566

 

 

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศวันนี้ – 8 เม.ย.ไทยอากาศร้อน-ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

สภาพอากาศวันนี้ – 8 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ไทยตอนบน อากาศร้อน ฟ้าหลัว ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 42 องศา บางพื้นที่มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เฉพาะวันที่ 7-8 เม.ย. เตรียมรับมือพายุฤดูร้อนถล่ม

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศวันนี้ – 8 เมษายน 2566 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ 

ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป  สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค พร้อมทั้งคาดการณ์ค่าฝุ่น PM2.5  ระหว่างวันที่ 2 – 8 เมษายน 2566


ภาคเหนือ
วันที่ 2 – 7 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่

วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 42 องศาเซลเซียส

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่งลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 40 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่

วันที่ 2 – 5 และ 8 เม.ย. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 41 องศาเซลเซียส

วันที่ 6 – 7 เม.ย. 66

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 60  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 39 องศาเซลเซียส

 

ภาคกลาง
วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่  โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 41 องศาเซลเซียส

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน  โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออก
วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 40 องศาเซลเซียส 

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ตลอดช่วง

วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30  ของพื้นที่ตลอดช่วง

วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส

 

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 2 – 6 เม.ย. 66 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 39 องศาเซลเซียส 

วันที่ 7 – 8 เม.ย. 66 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจhttps://www.thansettakij.com/news/general-news/560822

 

สภาพอากาศวันนี้! ร้อนถึงร้อนจัด ตอนบนเจอพายุฤดูร้อน ส่วนใต้ฝนตก 20%

กรมอุตุฯเผยวันนี้ทั่วไทยร้อนถึงร้อนจัด สูงสุด 40 องศา ตอนบนทุกภาคเจอพายุฤดูร้อน และใต้ฝนตก 20%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ 

ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือมีฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคอื่นๆ มีการสะสมลดลงเนื่องจากมีฝนตก 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคามร้อยเอ็ด ยโสธร  อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  •  
  • อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา: PPTV

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า 26 มีนาคม 2566 – 4 เมษายน 2566 พื้นที่ไหน “พายุฤดูร้อน” ถล่ม กลางวันอากาศร้อนจัด

ตือน!!! ช่วง 26 -29 มีนาคม 2566 

อากาศยังร้อน และร้อนจัดในช่วงกลางวัน และช่วงเย็น-ค่ำวันนี้คาดว่าจะเริ่มมีพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (ฝน/ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) โดยเริ่มทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน และภาคตะวันออกก่อน 

สาเหตุมาจากมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจะแผ่ลงมาปกคลุม ทางภาคอีสานตอนบน ทำให้เกิดแนวพัดสอบเข้ากันของลม 2 กระแส คือลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในบริเวณดังกล่าว  

ประกอบกับประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมอยู่ในขณะนี้ ทำให้สภาพอากาศแปรปวน ต้องระวังพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า ลูกเห็บ)  ฝนพอจะช่วยคลายร้อนได้บ้าง 

ก่อนที่ช่วง 30 มีนาคม – 4 เมษายน 2566 อากาศจะกลับมาร้อนเหมือนเดิม  แต่ยังมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก 

ที่มา : TNN

 

 

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน 32 จังหวัด ฝนถล่ม เหนือ-อีสาน โดนลูกเห็บ กทม.ไม่รอด

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน 32 จังหวัด ฝนถล่ม เหนือ-อีสาน โดนลูกเห็บ-ฟ้าผ่า กทม.ไม่รอด เผยกลางวันอากาศร้อน ฟ้าหลัว

เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 22 มี.ค.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันตกในระดับบนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสะสมฝุ่นละออง หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน

ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีการสะสมฝุ่นละออง หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศระบายได้ดี

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

เมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา : ข่าวสด

พยากรณ์อากาศวันนี้ -22 มี.ค.เหนือ อีสาน กลาง รับมือพายุฤดูร้อน

 

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศวันนี้ – 25 มีนาคม 2566 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) อากาศวันนี้ – 22 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  

ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ 

จึงขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น 

ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุม ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง  สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง
 

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ