กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทะเลคลื่นสูงกว่า 3 เมตร กทม. เริ่มหนาวน้อยลง

วันนี้ (21 ธ.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้ง กรุงเทพและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ยังมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ภาคเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 สูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก : อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณ จ.กระบี่ ตรัง และ สตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ที่มา : กรมอุตุฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยเรื่อง พายุ “นัลแก” ฉบับที่ 4 เคลื่อนเข้าจีน 2-3 พ.ย. วันนี้ไทยตอนบนอุณหภูมิลด 1-2 องศา

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยเรื่อง พายุ “นัลแก” ฉบับที่ 4 ความว่า เมื่อเวลา 05.00 น. วันนี้ (1 พ.ย. 65) พายุโซนร้อนกำลังแรง “นัลแก” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พายุนี้มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในช่วงวันที่ 2 – 3 พ.ย. 65 นี้ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ย. 65 ลักษณะเช่นนี้ จะทำให้พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังพยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไป ในช่วง 24 ชั่วโมง ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าว มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง

กับมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีเมฆบางส่วน โดยอุณหภูมิจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ที่มา:ประชาชาติธุรกิ

กรมอุตุ พยากรณ์อากาศ ไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น อากาศเย็น กทม. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40

(26 ต.ค.2565) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ในขณะที่ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีกำลังแรงขึ้น สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ สำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันนี้ ถึง 05.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ : อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง : มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก : มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส , อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ

ดาวเทียมเผย น้ำท่วม 4 ลุ่มน้ำสำคัญ กว่า 7.4 แสนไร่

GISTDA เผยภาพถ่ายดาวเทียม พบหลายพื้นที่ใน 4 ลุ่มน้ำสำคัญได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังแล้วกว่า 7.4 แสนไร่ ขณะพื้นที่ปลูกข้าวโดยรวมได้รับผลกระทบแล้ว 2.6 แสนไร่

GISTDA หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ติดตาม สถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำมูล ด้วย ดาวเทียม Radarsat-2 (เรดาร์แซท-2) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2565 พบ พื้นที่น้ำท่วมขัง แล้วทั้งสิ้น 749,396 ไร่

โดยเฉพาะในเขตพื้นที่บางส่วนของจังหวัด สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี และ นครราชสีมา ในขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโดยรวมได้รับผลกระทบแล้ว 260,558 ไร่

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

อ่านข่าวฉบับเต็มคลิกที่นี่