สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนฝนตกหนัก-ลมกระโชกแรง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา: ไทยรัฐ

กรมอุตุฯ ออกประกาศ “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19-21 ก.ย.65)” ฉบับที่ 8 เตือนประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง .

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ช่วงวันที่ 19 – 20 กันยายน 2565
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 21 กันยายน 2565
ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา: สำนักข่าวไทย

กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 38 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วง 16-17 ก.ย.นี้

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ฉบับที่ 38/2565

เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์จะมีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 12 – 17 กันยายน 2565 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,900 – 2,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 1,800 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่15 กันยายน 2565 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร ในช่วงวันที่ 16 – 17 กันยายน 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยง
ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า
2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
3.  ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2565

จุดจอดรถหนีน้ำ สำหรับลูกค้าเมืองไทยประกันภัย

ลูกค้าเมืองไทยประกันภัย รถโดนน้ำท่วม โทร 1484 กด 1 : ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย 
ทั้งกรณีแจ้งเหตุ และกรณียกรถหนีน้ำ ครอบคลุมรถที่ทำประกันชั้น 1 และชั้น 2+, 3+ ที่คุ้มครองน้ำท่วม

3 คลองหลักกทม. ระดับน้ำถึงจุดวิกฤต

กทม. แจ้งเตือน ปชช.ที่อาศัยริมคลองเฝ้าระวัง น้ำท่วม เนื่องจากน้ำในคลองอยู่ในระดับวิกฤต
1. คลองเปรมประชากร คือ พื้นที่เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่
2. คลองลาดพร้าว คือ พื้นที่เขตสายไหม เขตบางเขน เขตลาดพร้าว
3. คลองประเวศบุรีรมย์ คือพื้นที่เขตลาดกระบัง
เช้านี้พื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่พบกลุ่มฝน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) กล่าวว่า ช่วงนี้คือช่วงวิกฤต เรียกว่า 4 วันอันตรายตั้งแต่วันที่ 7-10 ก.ย.นี้ โดยคืนวันที่ 7 ก.ย. มีฝนตกหนักถึง 130 มิลลิเมตร ที่บริเวณเขตลาดกระบัง วันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ฝนตกหนักที่เขตบางเขน ปริมาณน้ำฝนสูงถึง 170 มิลลิเมตร ซึ่งจากสถิติพบว่าปริมาณน้ำฝนที่มากขนาดนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 20 ปี
นายชัชชาติ กล่าวว่าปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังคือ ท่อระบายน้ำดั้งเดิมของ กทม.ไม่รองรับปริมาณน้ำฝนสูงขนาด 170 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำเต็มคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรตามที่ปรากฏ และเมื่อมีฝนตกอีกบริเวณพัฒนาการ ทำให้น้ำเต็มคลองประเวศบุรีรมย์
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ตอนนี้คลองหลักของกทม.มีน้ำเต็มทุกคลอง ต้องเร่งระบายโดยด่วน ส่วนคลองแสนแสบก็ใกล้เต็มแล้วเช่นกัน สาเหตุที่ปัจจุบันทำให้น้ำท่วมมี 4 เรื่อง คือ
1. คลองหลักในกทม.น้ำเต็มความจุทุกคลอง ยกเว้นคลองแสนแสบที่ยังพอรับได้อีกไม่มาก
2. ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านกทม.พอดี ส่งผลให้เกิดกำลังดึงดูดฝนเข้ามา จึงมีโอกาสเกิดฝนตกเพิ่มขึ้นมากกว่านี้
3. ปริมาณน้ำเหนือถูกปล่อยลงมาจำนวนถึง 1,850 ลูกบาศก์ต่อวินาที แม้จะยังไม่สูงเท่าช่วงวิกฤต แต่ปริมาณน้ำที่ขึ้นสูงระดับนี้กทม.ต้องสูบน้ำข้ามประตูน้ำเพื่อระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การทำงานค่อนข้างลำบาก
4. ช่วงวันที่ 7-10 ก.ย.นี้ เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง โดย 4 ปัจจัยนี้ประกอบกันทำให้กทม.มีน้ำท่วมขังในบางจุด
จากบทเรียนน้ำท่วมบริเวณวงเวียนบางเขน นายชัชชาติสั่งการให้นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัด กทม.เป็นผู้บัญชาการ เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 21 เครื่อง และเตรียมจัดการสภาพการจราจรเพื่อให้รถของหน่วยช่วยเหลือต่างๆ เข้าไปในพื้นที่ได้
ทั้งนี้ กทม. แจ้งเตือน ปชช.ที่อาศัยริมคลองเฝ้าระวัง น้ำท่วม เนื่องจากน้ำในคลองอยู่ในระดับวิกฤต
1. คลองเปรมประชากร คือ พื้นที่เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่
2. คลองลาดพร้าว คือ พื้นที่เขตสายไหม เขตบางเขน เขตลาดพร้าว
3. คลองประเวศบุรีรมย์ คือพื้นที่เขตลาดกระบัง
Update สถานการณ์น้ำท่วมเช้านี้ (9 ก.ย. 2565) หลังฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วงเย็นที่ผ่านมาส่งผลให้หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมสูง ล่าสุดสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
1. วงเวียนบางเขน ระดับน้ำลดลงเหลือช่วงแจ้งวัฒนะ 4-2 ซม. ระดับผิวจราจร
2. ถนนรามอินทราขาเข้าวงเวียนบางเขน หน้าสนามกอล์ฟ ทบ. ระดับน้ำ 5-10 ซม.
3. ถนนรามอิทราหน้าเซ็นทรัล ระดับน้ำ 10-15 ซม.
4. รามอินทรา 19 ระดับน้ำ 10 – 15 ซม.
5. ซอยรามอินทรา 21 และระดับน้ำ 10-15 ซม.
6. ซอยรามอินทรา 23 ระดับน้ำ 10 ซม.
7. ซอยรามอินทรา 31 ระดับน้ำ 10 ซม.
8. ซอยรามอินทรา 39 ระดับน้ำ 15-20 ซม.
9. ถนนสุขาภิบาล 5 ระดับ 10 ซม.
10. ถนนพหลโยธินตัดถนนเทพรักษ์ ระดับน้ำ 5 ซม.
11. ชุมชนวัชรปราณี ระดับน้ำ 10-15 ซม.
12. คู้บอน 27 ระดับน้ำ 10-15 ซม. เดินเครื่องสูบน้ำต่อเนื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำในท่อตามซอยแยก 42,44,46,48,52,54
13. ชุมชนวัดอาวุธ ระดับน้ำ 5 ซม.
14. ชุมชนวัชรปราณี ระดับน้ำ 10 ซม.
ที่มา : workpointtoday.com
 

ทำอย่างไร เมื่อรถน้ำท่วม ?

ลูกค้าเมืองไทยประกันภัย รถโดนน้ำท่วม โทร 1484 กด 1 : ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย 
ทั้งกรณีแจ้งเหตุ และกรณียกรถหนีน้ำ ครอบคลุมรถที่ทำประกันชั้น 1 และชั้น 2+, 3+ ที่คุ้มครองน้ำท่วม

อุตุฯ ประกาศเตือน ฉ.10 ทั่วไทยรับมือฝนถล่ม กทม.ฟ้าคะนอง 70% ตจว.ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก (มีผลกระทบวันนี้-9 ก.ย.65)

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน(มีผลกระทบจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565)”
ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 08 กันยายน 2565
บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 8 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา
วันที่ 9 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565
ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา




กทม. รับ ฝนตกหนักสุดในรอบ 30 ปี!

วันนี้ (7 กันยายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงเหตุการณ์ฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา (6 กันยายน) ว่าเมื่อคืนนี้ฝนตกหนักมาก โดยเฉพาะแถวบางเขน ฝนตกมากกว่า 170 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นฝนที่ตกหนักในรอบ 130-140 ปี ทำให้น้ำในคลองเพิ่มขึ้น ตั้งแต่คลองลาดพร้าวไปจนถึงคลองเปรมประชากร มีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้การระบายน้ำพื้นที่ต่างๆ ทำได้ยาก
โดยจุดที่น้ำท่วมหลักคือบริเวณวงเวียนบางเขน ซึ่งเป็นจุดที่กำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่ด้วย ทำให้ทางเดินเท้าของประชาชนเดินได้ลำบาก แต่ล่าสุดขณะนี้ถนนเส้นหลักน้ำเริ่มลดลงแล้ว เหลือที่ยังท่วมจุดหลักๆ บริเวณวงเวียนบางเขน และถนนย่อยในชุมชน รวมถึงถนนรามอินทรา ซอยฝั่งเลขคี่ ยังคงมีน้ำท่วมทั้งหมด 
ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ตอนนี้สิ่งที่ทำได้คือการเร่งระบายน้ำออกให้มากที่สุด เพราะด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร ทางฝั่งจังหวัดปทุมธานี ก็มีน้ำมากเช่นกัน เพราะฝนตกต่อเนื่องอยู่แถวๆ จังหวัดปทุมธานี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน ทำให้การระบายน้ำทางด้านใต้ก็ทำได้ยาก
สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าเย็นนี้จะมีฝนเข้ามาอีก 1 ลูก ในช่วงเวลา 2 ระลอก คือในช่วง 15.00 น. และช่วง 18.00-03.00 น. ดังนั้นต้องรอดูว่าฝนที่จะเข้ามาระลอกนี้จะเข้าพื้นที่ไหน กรมอุตุฯ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ 24 ชั่วโมง แต่ กทม. จะรู้แน่นอนว่าเข้าเขตไหน 3 ชั่วโมงล่วงหน้า ดังนั้นวันนี้ประมาณช่วงเที่ยง กทม. จะรู้แล้วว่าฝนจะเข้าพื้นที่ไหน 
ต้องยอมรับว่าเมื่อวานนี้มีข้อบกพร่องหลายจุดที่ต้องปรับปรุงเรื่องการจัดการในพื้นที่ เช่น วงเวียนบางเขน ควรให้รถเข้ามาน้อยที่สุด รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้เรื่องการใช้เส้นทางและการช่วยเหลือรถที่ติดขัด 
 ชัชชาติกล่าวด้วยว่า การปล่อยให้รถเข้ามามาก เมื่อถึงเวลาฝนตกหนัก รถที่จะเข้าไปช่วยเหลือไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะรถติดมาก รถเครื่องกล เครื่องมือต่างๆ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ รวมทั้งรถทหารก็ติดอยู่ด้านนอก ตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการประสานงานที่ดีพอ 
 ล่าสุดตนได้แต่งตั้งปลัด กทม. เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แล้ว รวมทั้งรองปลัด กทม. ที่คุมโซนพื้นที่ต่างๆ ต้องลงบัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมงล่วงหน้า ต้องเอารถเครื่องมือลงพื้นที่ก่อน ทั้งรถซ่อม รถลาก ต้องอยู่ประจำในพื้นที่ วันนี้ต้องปรับแผน หากรู้ว่าพื้นที่ไหนฝนจะลง ต้องนำเครื่องมือลงไปไว้ในพื้นที่ก่อนล่วงหน้า
 “สำหรับประชาชน วันนี้ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและวางแผนการเดินทางให้ดี คาดว่าฝนจะตกหนักอีกในวันนี้ และวันพรุ่งนี้อีกเล็กน้อย ผ่านสองวันนี้ไปฝนน่าจะชะลอลง แต่เข้าใจว่าการเดินทางหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ กทม. จะทำให้ดีที่สุด” ชัชชาติกล่าวในที่สุด 

ขอบคุณที่มา : THE STANDARD

 

ภาพ : THE STANDARD