พายุตาลิม’ ฉบับที่ 18 อ่อนกำลังเป็น พายุดีเปรสชัน47 จังหวัดเจอ ฝนตกหนัก เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก

‘สภาพอากาศ’ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ‘พายุตาลิม’ (TALIM) ฉบับที่ 18 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ค. 2566) พายุดีเปรสชัน ‘ตาลิม’ (TALIM) บริเวณเมืองเตวียนกวง ประเทศเวียดนาม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 22.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 105.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงเป็น หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต่อไป

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมี ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนอง

จังหวัดที่คาดว่าจะมี ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 19 ก.ค. 2566

  • ภาคเหนือ : จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง : จ.กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี
  • ภาคตะวันออก : จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ : จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 20 ก.ค. 2566

  • ภาคเหนือ : จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร  ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง : จ.ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
  • ภาคตะวันออก : จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ : จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : คมชัดลึก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 10 อัพเดตเส้นทางพายุโซนร้อน “ตาลิม” คาดขึ้นฝั่งเวียดนามตอนบน 18-19 ก.ค.นี้ พร้อมเติอน 47 จังหวัดมีโอกาสเจอฝนหนัก วันนี้ (17 ก.ค.)

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 10 อัพเดตเส้นทางพายุโซนร้อน “ตาลิม” คาดขึ้นฝั่งเวียดนามตอนบน 18-19 ก.ค.นี้ พร้อมเติอน 47 จังหวัดมีโอกาสเจอฝนหนัก วันนี้ (17 ก.ค.)

วันที่ 17 กรกฎษคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุโซนร้อน “ตาลิม” (TALIM) ฉบับที่ 10 (196/2566) ระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (17 ก.ค. 2566) พายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” (TALIM) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.9 องศาเหนื่อ ลองจิจูด 113.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • ใครโดน “ฟาดหาง” หนักสุด เมื่อจีนส่อไม่รอด “เงินฝืด”
  • ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 16 ก.ค. 66 (อัพเดต)
  • เจ้าหนี้โควิด ‘สินมั่นคง’ เอาไง เสนอจ่ายเงินสด 15% แปลงหนี้เป็นทุน 85%

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางตะวันตกเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. 66

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-20 ก.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉี่ยงเหนื่อ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน ตาก และกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และ กำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรี่สะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร
พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประ กาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tnd.go.th หรือที่ 0-2399-40 12-13 และ 1 182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11.00 น

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ1 เตือนมรสุม ฝนตกหนักถึงหนักมาก เสี่ยงน้ำท่วม

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 เตือน ฝนตกหนักถึงหนักมาก มรสุมกำลังแรง เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ภาคใต้ ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรhttps://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7764927

วันที่ 14 ก.ค.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 1 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 16-20 กรกฎาคม 2566) ระบุว่า ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดกาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงนี้ไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน 42จว.ฝนถล่มหนัก กทม.ไม่รอด ใต้อ่วม

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือนประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น 42 จังหวัดโดนเต็ม ๆ ตกหนักร้อยละ 60 ของพื้นที่ กทม.โดนด้วย เผย ภาคใต้ทะเลมีคลื่นสูง

วันที่ 25 มิ.ย.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น.วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ที่มา: ข่าวสด

เหนือ – กลาง – ใต้ ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.เจอฝน 70%

สภาพอากาศวันนี้ ไทยฝนลดลง แต่ยังตกหนัก "เหนือ-กลาง-ใต้"

อ่านให้ฟัง

00:00กรมอุตุนิยมวิทยา เผยไทยฝนลดลง แต่ยังมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วน กทม.เจอฝน 70%

วันนี้ (10 ก.ค.2566) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกได้เคลื่อนผ่านประเทศไทยลงสู่งทะเลอันดามันแล้ว ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ภาคเหนือ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณแม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
  • ภาคกลาง ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
  • ภาคตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ทะเลคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • กรุงเทพและปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ที่มา ThaiPBS