ประกาศกรมอุตุฯฉบับ 4 เตือน พายุไต้ฝุ่น“โนรู” ฝนตกหนัก-หนักมาก 28 ก.ย.-1 ต.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุฯฉบับที่ 4 เตือน พายุไต้ฝุ่น“โนรู” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 ก.ย. 65 ไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมแรงในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 1 ต.ค.นี้

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 05.00 น. เรื่อง “พายุโนรู

     
เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (26 ก.ย. 2565) พายุไต้ฝุ่น“โนรู” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 กันยายน 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
        

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 27 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

ที่มา : ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา 

กทม.เตือนเฝ้าระวังระดับแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 22-26 ก.ย.นี้

กรุงเทพมหานคร ประกาศว่าในวันที่ 22 – 26 ก.ย. 65 ให้ระวังสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอ้างอิงข้อมูลจากประกาศของกรมอุทกศาสตร์ ที่ระบุว่า วันที่ 22-26 ก.ย. 65 ระหว่างเวลาประมาณ 17.00-19.00 น. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น รวมทั้งมีการระบายน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

ลักษณะดังกล่าวอาจทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยคาดหมายว่าที่บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง และบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ระดับน้ำจะมีความสูง ประมาณ 1.70-2.00 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

จึงขอให้ระมัดระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระดับน้ำขึ้นสูงดังกล่าว และติดตามสภาวะระดับน้ำอย่างใกล้ชิดทั้งนี้ กรมอุทกศาสตร์ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไว้ที่ “สภาวะน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา” ในเว็บไซต์ของ กรมอุทกศาสตร์ (คลิกที่นี่

อนึ่ง หากพบปัญหา “น้ำท่วมขัง” สามารถสแกน QR Code หรือแจ้งได้ที่ traffy fondue และ Facebook: ศูนย์ประสานงานน้ำท่วม กทม. 

ขณะที่กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ การเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ ประจำจุดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ให้สามารถพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมไปถึงตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทานและพนังกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ

สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนฝนตกหนัก-ลมกระโชกแรง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา: ไทยรัฐ

กรมอุตุฯ ออกประกาศ “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19-21 ก.ย.65)” ฉบับที่ 8 เตือนประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง .

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ช่วงวันที่ 19 – 20 กันยายน 2565
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 21 กันยายน 2565
ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ที่มา: สำนักข่าวไทย

กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 38 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วง 16-17 ก.ย.นี้

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ฉบับที่ 38/2565

เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์จะมีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 12 – 17 กันยายน 2565 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,900 – 2,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 1,800 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่15 กันยายน 2565 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร ในช่วงวันที่ 16 – 17 กันยายน 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยง
ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า
2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
3.  ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2565

3 คลองหลักกทม. ระดับน้ำถึงจุดวิกฤต

กทม. แจ้งเตือน ปชช.ที่อาศัยริมคลองเฝ้าระวัง น้ำท่วม เนื่องจากน้ำในคลองอยู่ในระดับวิกฤต
1. คลองเปรมประชากร คือ พื้นที่เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่
2. คลองลาดพร้าว คือ พื้นที่เขตสายไหม เขตบางเขน เขตลาดพร้าว
3. คลองประเวศบุรีรมย์ คือพื้นที่เขตลาดกระบัง
เช้านี้พื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่พบกลุ่มฝน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) กล่าวว่า ช่วงนี้คือช่วงวิกฤต เรียกว่า 4 วันอันตรายตั้งแต่วันที่ 7-10 ก.ย.นี้ โดยคืนวันที่ 7 ก.ย. มีฝนตกหนักถึง 130 มิลลิเมตร ที่บริเวณเขตลาดกระบัง วันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ฝนตกหนักที่เขตบางเขน ปริมาณน้ำฝนสูงถึง 170 มิลลิเมตร ซึ่งจากสถิติพบว่าปริมาณน้ำฝนที่มากขนาดนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 20 ปี
นายชัชชาติ กล่าวว่าปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังคือ ท่อระบายน้ำดั้งเดิมของ กทม.ไม่รองรับปริมาณน้ำฝนสูงขนาด 170 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำเต็มคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรตามที่ปรากฏ และเมื่อมีฝนตกอีกบริเวณพัฒนาการ ทำให้น้ำเต็มคลองประเวศบุรีรมย์
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ตอนนี้คลองหลักของกทม.มีน้ำเต็มทุกคลอง ต้องเร่งระบายโดยด่วน ส่วนคลองแสนแสบก็ใกล้เต็มแล้วเช่นกัน สาเหตุที่ปัจจุบันทำให้น้ำท่วมมี 4 เรื่อง คือ
1. คลองหลักในกทม.น้ำเต็มความจุทุกคลอง ยกเว้นคลองแสนแสบที่ยังพอรับได้อีกไม่มาก
2. ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านกทม.พอดี ส่งผลให้เกิดกำลังดึงดูดฝนเข้ามา จึงมีโอกาสเกิดฝนตกเพิ่มขึ้นมากกว่านี้
3. ปริมาณน้ำเหนือถูกปล่อยลงมาจำนวนถึง 1,850 ลูกบาศก์ต่อวินาที แม้จะยังไม่สูงเท่าช่วงวิกฤต แต่ปริมาณน้ำที่ขึ้นสูงระดับนี้กทม.ต้องสูบน้ำข้ามประตูน้ำเพื่อระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การทำงานค่อนข้างลำบาก
4. ช่วงวันที่ 7-10 ก.ย.นี้ เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง โดย 4 ปัจจัยนี้ประกอบกันทำให้กทม.มีน้ำท่วมขังในบางจุด
จากบทเรียนน้ำท่วมบริเวณวงเวียนบางเขน นายชัชชาติสั่งการให้นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัด กทม.เป็นผู้บัญชาการ เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 21 เครื่อง และเตรียมจัดการสภาพการจราจรเพื่อให้รถของหน่วยช่วยเหลือต่างๆ เข้าไปในพื้นที่ได้
ทั้งนี้ กทม. แจ้งเตือน ปชช.ที่อาศัยริมคลองเฝ้าระวัง น้ำท่วม เนื่องจากน้ำในคลองอยู่ในระดับวิกฤต
1. คลองเปรมประชากร คือ พื้นที่เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่
2. คลองลาดพร้าว คือ พื้นที่เขตสายไหม เขตบางเขน เขตลาดพร้าว
3. คลองประเวศบุรีรมย์ คือพื้นที่เขตลาดกระบัง
Update สถานการณ์น้ำท่วมเช้านี้ (9 ก.ย. 2565) หลังฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วงเย็นที่ผ่านมาส่งผลให้หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมสูง ล่าสุดสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
1. วงเวียนบางเขน ระดับน้ำลดลงเหลือช่วงแจ้งวัฒนะ 4-2 ซม. ระดับผิวจราจร
2. ถนนรามอินทราขาเข้าวงเวียนบางเขน หน้าสนามกอล์ฟ ทบ. ระดับน้ำ 5-10 ซม.
3. ถนนรามอิทราหน้าเซ็นทรัล ระดับน้ำ 10-15 ซม.
4. รามอินทรา 19 ระดับน้ำ 10 – 15 ซม.
5. ซอยรามอินทรา 21 และระดับน้ำ 10-15 ซม.
6. ซอยรามอินทรา 23 ระดับน้ำ 10 ซม.
7. ซอยรามอินทรา 31 ระดับน้ำ 10 ซม.
8. ซอยรามอินทรา 39 ระดับน้ำ 15-20 ซม.
9. ถนนสุขาภิบาล 5 ระดับ 10 ซม.
10. ถนนพหลโยธินตัดถนนเทพรักษ์ ระดับน้ำ 5 ซม.
11. ชุมชนวัชรปราณี ระดับน้ำ 10-15 ซม.
12. คู้บอน 27 ระดับน้ำ 10-15 ซม. เดินเครื่องสูบน้ำต่อเนื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำในท่อตามซอยแยก 42,44,46,48,52,54
13. ชุมชนวัดอาวุธ ระดับน้ำ 5 ซม.
14. ชุมชนวัชรปราณี ระดับน้ำ 10 ซม.
ที่มา : workpointtoday.com
 

อุตุฯ ประกาศเตือน ฉ.10 ทั่วไทยรับมือฝนถล่ม กทม.ฟ้าคะนอง 70% ตจว.ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก (มีผลกระทบวันนี้-9 ก.ย.65)

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน(มีผลกระทบจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565)”
ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 08 กันยายน 2565
บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 8 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา
วันที่ 9 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565
ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา




กทม. รับ ฝนตกหนักสุดในรอบ 30 ปี!

วันนี้ (7 กันยายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงเหตุการณ์ฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา (6 กันยายน) ว่าเมื่อคืนนี้ฝนตกหนักมาก โดยเฉพาะแถวบางเขน ฝนตกมากกว่า 170 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นฝนที่ตกหนักในรอบ 130-140 ปี ทำให้น้ำในคลองเพิ่มขึ้น ตั้งแต่คลองลาดพร้าวไปจนถึงคลองเปรมประชากร มีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้การระบายน้ำพื้นที่ต่างๆ ทำได้ยาก
โดยจุดที่น้ำท่วมหลักคือบริเวณวงเวียนบางเขน ซึ่งเป็นจุดที่กำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่ด้วย ทำให้ทางเดินเท้าของประชาชนเดินได้ลำบาก แต่ล่าสุดขณะนี้ถนนเส้นหลักน้ำเริ่มลดลงแล้ว เหลือที่ยังท่วมจุดหลักๆ บริเวณวงเวียนบางเขน และถนนย่อยในชุมชน รวมถึงถนนรามอินทรา ซอยฝั่งเลขคี่ ยังคงมีน้ำท่วมทั้งหมด 
ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ตอนนี้สิ่งที่ทำได้คือการเร่งระบายน้ำออกให้มากที่สุด เพราะด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร ทางฝั่งจังหวัดปทุมธานี ก็มีน้ำมากเช่นกัน เพราะฝนตกต่อเนื่องอยู่แถวๆ จังหวัดปทุมธานี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน ทำให้การระบายน้ำทางด้านใต้ก็ทำได้ยาก
สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าเย็นนี้จะมีฝนเข้ามาอีก 1 ลูก ในช่วงเวลา 2 ระลอก คือในช่วง 15.00 น. และช่วง 18.00-03.00 น. ดังนั้นต้องรอดูว่าฝนที่จะเข้ามาระลอกนี้จะเข้าพื้นที่ไหน กรมอุตุฯ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ 24 ชั่วโมง แต่ กทม. จะรู้แน่นอนว่าเข้าเขตไหน 3 ชั่วโมงล่วงหน้า ดังนั้นวันนี้ประมาณช่วงเที่ยง กทม. จะรู้แล้วว่าฝนจะเข้าพื้นที่ไหน 
ต้องยอมรับว่าเมื่อวานนี้มีข้อบกพร่องหลายจุดที่ต้องปรับปรุงเรื่องการจัดการในพื้นที่ เช่น วงเวียนบางเขน ควรให้รถเข้ามาน้อยที่สุด รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้เรื่องการใช้เส้นทางและการช่วยเหลือรถที่ติดขัด 
 ชัชชาติกล่าวด้วยว่า การปล่อยให้รถเข้ามามาก เมื่อถึงเวลาฝนตกหนัก รถที่จะเข้าไปช่วยเหลือไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะรถติดมาก รถเครื่องกล เครื่องมือต่างๆ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ รวมทั้งรถทหารก็ติดอยู่ด้านนอก ตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการประสานงานที่ดีพอ 
 ล่าสุดตนได้แต่งตั้งปลัด กทม. เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แล้ว รวมทั้งรองปลัด กทม. ที่คุมโซนพื้นที่ต่างๆ ต้องลงบัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมงล่วงหน้า ต้องเอารถเครื่องมือลงพื้นที่ก่อน ทั้งรถซ่อม รถลาก ต้องอยู่ประจำในพื้นที่ วันนี้ต้องปรับแผน หากรู้ว่าพื้นที่ไหนฝนจะลง ต้องนำเครื่องมือลงไปไว้ในพื้นที่ก่อนล่วงหน้า
 “สำหรับประชาชน วันนี้ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและวางแผนการเดินทางให้ดี คาดว่าฝนจะตกหนักอีกในวันนี้ และวันพรุ่งนี้อีกเล็กน้อย ผ่านสองวันนี้ไปฝนน่าจะชะลอลง แต่เข้าใจว่าการเดินทางหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ กทม. จะทำให้ดีที่สุด” ชัชชาติกล่าวในที่สุด 

ขอบคุณที่มา : THE STANDARD

 

ภาพ : THE STANDARD

อุตุฯ ประกาศเตือน ฉ.8 ฝนถล่มทั่วไทย กทม.-ปริมณฑล รับ 80% ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก (วันนี้-9 ก.ย.65)

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา

ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565)”

ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 07 กันยายน 2565

บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ

อ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 7 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรีกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

 

วันที่ 8-9 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรีกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 6-9 กันยายน 2565

ประกาศ วันที่ 7 กันยายน .. 2565 เวลา 05.00 .

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา