ประกาศกรมอุตุฯฉบับ 5 ภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมาก-คลื่นลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุฯฉบับที่ 5 เตือนฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6 – 8 มกราคม 2566

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6 – 8 มกราคม 2566)  ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 05.00 น.
 

ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในวันที่ 6 มกราคม 2566 : จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม 2566 : จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น. 

ที่มา : ไทยรัฐ

กรมอุตุฯ เตือน ฉบับที่2 เตือนภาคใต้ 6 จ. นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 3 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6-8 มกราคม 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุ ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงใกล้เกาะบอร์เนียวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายบริเวณแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในวันที่ 6 มกราคม 2565 : จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม 2565 : จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำ ให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 17.00 น.

สภาพอากาศวันนี้ ตอนบนยังเย็น “ใต้” มีฝน-เตรียมรับมือตกหนัก 6-8 ม.ค.นี้

ไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว-มีหมอกในตอนเช้า “ใต้” มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 6-8 ม.ค.นี้ “ใต้” เตรียมรับมือฝนหนัก เตือนประชาชนระวังน้ำท่วม-น้ำป่า “อ่าวไทย” คลื่นลมแรง-คลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากว่า 4 เมตร ขอชาวเรือระมัดระวัง

เมื่อวันที่ 4 ม.ค.66 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและหนาวเย็นไว้ด้วย รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2566 บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

ที่มา :ไทยรัฐ

สภาพอากาศวันนี้ 26 ธ.ค. 65 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ไทยตอนบนอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อ่าวไทยตอนล่างคลื่นลมแรง

สภาพอากาศวันนี้ 26 ธ.ค. 65 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวัน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง 


บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า 

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากลมแรงและอากาศแห้งในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในวันนี้อีก 1 วัน ( 26 ธ.ค. 65)

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

เช็กด่วน! ประกาศเตือนฉบับ 1 “คลื่นลมแรง” บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง

 

รมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ฉบับที่ 1 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-26 ธันวาคม 2565

ในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง

ในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 

ส่วนอ่าวไทยตอนบนและห่างฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24-26 ธันวาคม 2565

  • พยากรณ์อากาศวันนี้และ 7 วันข้างหน้า ทั่วไทยอากาศเย็น กทม.วันนี้ 20 องศาฯ
  • เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ 7 จังหวัดยังอ่วมโดนกระทบหนัก
  • ภาคใต้ฝนตกหนัก-น้ำท่วม รฟท.แจ้งปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถสายใต้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ลมหนาวทักอีกระลอก!กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศล่วงหน้าวันที่ 24 -27 ธ.ค.ไทยตอนบนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา ส่วนภาคเหนือมีฝนเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ คลื่นลมกำลังแรง คลื่นสูง 3 เมตร

 

 รายงานสภาพอากาศวันนี้ – 27 ธันวาคม 2565 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า)ในช่วงวันที่ 24 – 27 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิและอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนบนของภาคเหนือ 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและห่างฝั่งบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนสภาพอากาศวันนี้ – 23 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง 

ข้อควรระวัง

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง และระวังภัยที่เกิดจากลมแรงและอากาศแห้ง 
  • ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย 
  • ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ตั้งแต่ในช่วงวันที่ 24 – 27 ธ.ค. 65

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 21 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 21 – 24 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นในกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 25 – 27 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคเหนือ
วันที่ 21 – 24 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยทางด้านตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 23 -24 ธ.ค. 65 อุณหภูมิต่ำสุด 11 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5 – 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 25 – 27 ธ.ค. 65 

  • อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 – 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 – 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทะเลคลื่นสูงกว่า 3 เมตร กทม. เริ่มหนาวน้อยลง

วันนี้ (21 ธ.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้ง กรุงเทพและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ยังมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ภาคเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 สูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก : อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 สูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณ จ.กระบี่ ตรัง และ สตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 สูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ที่มา :กรมอุตุนิยมวิทยา