เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณ “แม่น้ำยม” เตือน 3 จังหวัด (สุโขทัย-พิษณุโลก-พิจิตร) ระวังน้ำล้นตลิ่ง

กอนช. ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 46 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณ “แม่น้ำยม” ปรับเพิ่มการระบายน้ำ เตือน 3 จังหวัดระวังน้ำล้นตลิ่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 46/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณ “แม่น้ำยม” เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนรู” ในช่วงวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำยมที่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.79 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง 
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำ ที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย , อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก , อำเภอสามง่ามและโพทะเล จังหวัดพิจิตรในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคัน บริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ
2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
3. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ระบบชลประทาน โดยควบคุมการระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำ และผันน้ำไปยังคลองเชื่อม รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร และพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1030199

สภาพอากาศวันนี้ ทุกภาคฝนหนัก 35 จว.ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า ทะเลคลื่นลมแรง

“กรมอุตุฯ” เตือนทุกภาคฝนหนัก ขอประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-สะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ทะเลคลื่นลมแรง เตือนชาวเรือระมัดระวัง  กรุงเทพฯและปริมณฑลฉ่ำฝน 70% บางแห่งฝนตกหนักมาก

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 65 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค.นี้
พยากรณ์อากาศ สำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์
สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
 
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
 
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.20 “พายุดีเปรสชั่นโนรู” ทำฝนตกหนักทั่วไทย เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก เตือนประชาชนระวังอันตรายจากคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 20 พายุดีเปรสชั่นโนรู พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยอย่างช้าๆ  คาดจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ส่งผลกระทบฝนตกหนักถึงหนักมากทั่วไทย 29-30 ก.ย. นี้

เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน “โนรู” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร หรือที่ละติจูด 15.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 103.5 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 29 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
       
วันที่ 30 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และบุรีรัมย์
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
       
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.19 “พายุดีเปรสชั่นโนรู” ทำฝนตกหนัก 71 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 19 พายุดีเปรสชั่นโนรู เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ คาดจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ส่งผลกระทบฝนตกหนักถึงหนักมาก 71 จังหวัดทั่วไทย 29-30 ก.ย. นี้

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน “โนรู” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร หรือที่ละติจูด 15.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.2 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 29 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
 
วันที่ 30 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และบุรีรัมย์
       
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
       
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.14 “พายุ โนรู” เตือน 67 จังหวัด ฝนถล่ม ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก แนะยกของหนีน้ำ

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ ฉบับ 14 “พายุ โนรู” เผยสถานการณ์ล่าสุด เตือน 67 จังหวัด ฝนถล่ม กทม.-ปริมณฑล โดนด้วย ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก และอันตรายจากคลื่นซัดเข้าชายฝั่ง

 เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันนี้ (28 ก.ย. 65) พายุโซนร้อน “โนรู” บริเวณแขวงสาละวัน ประเทศลาว มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 90 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ละติจูด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 106.3 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานีในคืนนี้ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 28 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
        ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
       
วันที่ 29 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
       
วันที่ 30 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
       
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.13 “พายุ โนรู” เตือน 67 จังหวัด ฝนถล่ม ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ ฉบับ 13 “พายุ โนรู” เผยสถานการณ์ล่าสุด เตือน 67 จังหวัด ฝนถล่ม กทม.-ปริมณฑล ไม่รอดโดนด้วย แนะระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก

เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (28 ก.ย. 65) พายุไต้ฝุ่น “โนรู” บริเวณแขวงเซกอง ประเทศลาว ได้อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ละติจูด 15.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 106.8 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานีในคืนนี้ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

 จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 28 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
        ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
       
วันที่ 29 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
       
วันที่ 30 กันยายน 2565
        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา
        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
        ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

“พายุเข้าไทย” กรมอุตุ ประกาศ ฉ.12 เฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก 39 จังหวัด

กรมอุตุฯ 28 ก.ย. – กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 12 #พายุโนรู ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้ว คาดอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อน ก่อนเคลื่อนเข้าไทย บริเวณ จ.อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี 29 ก.ย.นี้ ส่งผลให้ไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ เรื่อง “พายุโนรู” ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 28 กันยายน 2565 ระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (28 ก.ย.65) พายุไต้ฝุ่น “โนรู” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนามแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 70 กิโลเมตร ทางตะวันออกของแขวงเซกอง ประเทศลาว หรือที่ละติจูด 16.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.1 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่าง เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย บริเวณ จ.อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ในวันที่ 29 ก.ย.65 โดยพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ตามลำดับ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย
วันที่ 28 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
 วันที่ 29 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
 วันที่ 30 กันยายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65

กทม. คาดการณ์บริเวณที่มี “ฝนตกหนักถึงหนักมากจำ นวน 14 เขต ดังนี้

เขตหนองจอก เขตบางเขน เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตบึงกุ่ม เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตวังทองหลาง เขตคลองสามวา และเขตทวีวัฒนา

ปริมณฑลเฝ้าระวัง นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ

รศ.ดร.เสรี เตือน “พายุโนรู” ของจริงกำลังมา ฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่ 28-29-30 ก.ย. เช็กด่วนกระทบไทยจังหวัดไหนโดยตรง กทม.และปริมณฑลอาจจะโดนหางเลข
“พายุโนรู” ของจริงกำลังมา ฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่ 28-29-30 ก.ย. เริ่มกระทบไทยจังหวัดไหนโดยตรง ส่วนกทม.และปริมณฑลอาจจะโดนหางเลข
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เกี่ยวกับพายุโนรู โดยระบุว่า #ของจริงกำลังมา 
วันที่ 29 ก.ย. นี้ ผมจะไปพูดเรื่องสภาพอากาศสุดขั้ว และจะแถลงข่าวเรื่องผลกระทบจากพายุโนรู รวมทั้งการคาดการณ์ในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ณ. ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เวลา 10.30-12.30 ผู้สนใจไปแลกเปลี่ยนพูดคุยกันเชิญน่ะครับ
เมื่อวานนี้ JTWC ได้ Upgrade พายุโนรูเป็น Super Typhoon ก่อนจะพัดเข้าสู่ฟิลิปปินส์และลดระดับลงเป็นพายุไต้ฝุ่น ล่าสุดศูนย์ฯฮ่องกง (HKO) คาดการณ์จะพัดขึ้นฝั่งที่เวียดนามเป็น Super Typhoon (เช้าวันที่ 28 ก.ย.) และจะลดระดับพัดเข้าลาว (โซนร้อน) และไทย (ดีเปรสชัน และหย่อม Low ต่อไป) 
เส้นทางพายุโนรูยังแหว่งอยู่น่ะครับคาดว่าจะพัดเข้าภาคอีสานตอนกลาง-ล่าง (มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี) ในวันที่ 29 ก.ย. มีแนวโน้มโค้งขึ้นบนผ่านภาคอีสานกลาง (ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ) และเข้าสู่ภาคกลางตอนบน (เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก) ดังนั้นทั้งลุ่มน้ำชี มูล และเจ้าพระยาจะได้รับผลกระทบโดยตรง
ทำให้มีลมแรง และปริมาณฝนตกหนัก ถึงหนักมาก (> 100 mm/วัน) ตามรูปแนบตั้งแต่วันที่ 28-29-30 ก.ย. (ภาคอีสานกลาง และล่างต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมแบบโดมิโนตามมา) 29-30 (ก.ย.)-1(ต.ค.) (ภาคกลางตอนบน และ ภาคตะวันออก 
สำหรับ กทม. และปริมณฑลอาจจะโดนหางเลขน่ะครับ) สำหรับภาคเหนือ ภาคอีสานบน และภาคใต้จะมีฝนตกหนักยาวไปถึงวันที่ 3 ต.ค.
จากอิทธิพลของร่องฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และหย่อม Low รวมทั้งยังคงมีความเสี่ยงจากพายุลูกอื่นๆตามมา ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับด้วยความไม่ประมาทน่ะครับ
 
ขอบคุณที่มา 
กรมอุตุนิยมวิทยา
เฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ 
https://www.nationtv.tv/news/social/378887636
https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1029297

ประกาศกรมอุตุฯฉบับ 4 เตือน พายุไต้ฝุ่น“โนรู” ฝนตกหนัก-หนักมาก 28 ก.ย.-1 ต.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุฯฉบับที่ 4 เตือน พายุไต้ฝุ่น“โนรู” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 ก.ย. 65 ไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมแรงในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 1 ต.ค.นี้

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 05.00 น. เรื่อง “พายุโนรู

     
เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (26 ก.ย. 2565) พายุไต้ฝุ่น“โนรู” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 กันยายน 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
        

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 27 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

ที่มา : ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา 

กทม.เตือนเฝ้าระวังระดับแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 22-26 ก.ย.นี้

กรุงเทพมหานคร ประกาศว่าในวันที่ 22 – 26 ก.ย. 65 ให้ระวังสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอ้างอิงข้อมูลจากประกาศของกรมอุทกศาสตร์ ที่ระบุว่า วันที่ 22-26 ก.ย. 65 ระหว่างเวลาประมาณ 17.00-19.00 น. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น รวมทั้งมีการระบายน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

ลักษณะดังกล่าวอาจทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยคาดหมายว่าที่บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง และบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ระดับน้ำจะมีความสูง ประมาณ 1.70-2.00 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

จึงขอให้ระมัดระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระดับน้ำขึ้นสูงดังกล่าว และติดตามสภาวะระดับน้ำอย่างใกล้ชิดทั้งนี้ กรมอุทกศาสตร์ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไว้ที่ “สภาวะน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา” ในเว็บไซต์ของ กรมอุทกศาสตร์ (คลิกที่นี่

อนึ่ง หากพบปัญหา “น้ำท่วมขัง” สามารถสแกน QR Code หรือแจ้งได้ที่ traffy fondue และ Facebook: ศูนย์ประสานงานน้ำท่วม กทม. 

ขณะที่กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ การเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ ประจำจุดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ให้สามารถพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมไปถึงตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทานและพนังกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ