อุตุฯ เผย มรสุมปกคลุมไทย ทุกภาคฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไป 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4 – 7 ก.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

 

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

กรุงเทพฯ ฝนตก ปริมาณฝนสูงสุดเขตคลองเตย

ข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ วันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 14.30 น. ฝนเล็กน้อย-ปานกลาง บางพลัด ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ คลองสาน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ จอมทอง ภาษีเจริญ บางแค ฝั่งพระนครชั้นใน กลุ่มฝนขยายตัวเพิ่มขึ้น เคลื่อนตัวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ช้าๆ ปริมาณฝนสูงสุดเขตคลองเตย 49.0 มม.

ที่มา : สำนักการระบายน้ำ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่

ดาวเทียมเผย น้ำท่วม 4 ลุ่มน้ำสำคัญ กว่า 7.4 แสนไร่

GISTDA เผยภาพถ่ายดาวเทียม พบหลายพื้นที่ใน 4 ลุ่มน้ำสำคัญได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังแล้วกว่า 7.4 แสนไร่ ขณะพื้นที่ปลูกข้าวโดยรวมได้รับผลกระทบแล้ว 2.6 แสนไร่

GISTDA หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ติดตาม สถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำมูล ด้วย ดาวเทียม Radarsat-2 (เรดาร์แซท-2) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2565 พบ พื้นที่น้ำท่วมขัง แล้วทั้งสิ้น 749,396 ไร่

โดยเฉพาะในเขตพื้นที่บางส่วนของจังหวัด สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี และ นครราชสีมา ในขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโดยรวมได้รับผลกระทบแล้ว 260,558 ไร่

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

อ่านข่าวฉบับเต็มคลิกที่นี่

พยากรณ์อากาศวันนี้ – 6 ก.ย. อุตุฯ เตือนไทยรับมือฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยาเผย พยากรณ์อากาศวันนี้ – 6 ก.ย.ทั่วไทยมีฝนตกต่อเนื่อง เฉพาะวันที่ 4-6 ก.ย.มีฝนเพิ่มกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทะเลคลื่นสูง 2 เมตร พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) ในช่วงวันที่ 31 ส.ค. – 3 ก.ย. 65 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง และในวันที่ 4 – 6 ก.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

เตือนประชาชน วันที่ 4 – 6 ก.ย. 65 

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมที่เกิดขึ้นไว้ด้วย ที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อ่านข่าวฉบับเต็มที่นี่ : https://www.thansettakij.com

อุตุฯ เตือน 3-9 ก.ย. ทั่วไทยรับมือ ‘พายุหินหนามหน่อ’ ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน

 

เพจกรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ภาพกราฟฟิกพร้อมข้อความระบุว่า 

อัพเดท ภาพกราฟฟิก แสดงการพยากรณ์ฝนรวมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.)10 วันล่วงหน้า (31 ส.ค.- 9 ก.ย. 65 ระหว่างเวลา 07.00น. – 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) จากแบบจำลองฯ ECMWF Init.2022083012 :

31 ส.ค. – 2 ก.ย. 65 ยังมีฝนและมีตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคอีสานด้านตะวันออก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ตามมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมตามฤดูกาล มีลมตะวันออกเฉียงใต้ (ลมในระดับล่าง) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมบางเวลา ส่วนระดับบน (สูงจากพื้นดิน 5.5 กม.) มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออก พัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งตะวันออกและอ่าวไทย ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

ช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น (มีพายุ “หินหนามหน่อ” เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไต้หวัน ช่วยดึงดูดให้มรสุมแรงขึ้น) ทำให้ประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง (รวม กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก )มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องติดตามและเฝ้าระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้นด้วย

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ)

ที่มา : เพจ กรมอุตุนิยมวิทยา

 

 

 

บริการฝากรถไว้กับอู่

เมืองไทยประกันภัย ห่วงใยลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม บริการอู่จอดรถฟรีได้ทั่วประเทศ

ดาวน์โหลดเอกสารเพื่อรับข้อมูลได้ที่นี่

แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ตามแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติกรณีเกิดอุทกภัย เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต